วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561

เปิดประวัติพระเกจิดังแห่งยุค "หลวงปู่แหวน" หลวงปู่แหวน ตอนที่ 1

เปิดประวัติ พระ"หลวงปู่แหวน" วัตถุมงคลดัง เหรียญหลวงปู่แหวน
หลวง ปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง หรือที่รู้จักกันในนาม "พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม" มีนามเดิมว่า "ญาณ" โยมบิดาชื่อ นายใส โยมมารดาชื่อ นางแก้ว อาชีพทำนาและตีเหล็ก เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2430 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านหนองบอน หมู่ 2 ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีพี่น้อง 2 คน ท่านเป็นคนที่ 2 ให้ พยายามรักษาความดีความหมั่นความขยันของเราไว้ ให้สละความเกียจคร้านออกไปเสีย ปกติจิตของเรานี้มักจะไหลไปสู่ความเกียจคร้านความลุ่มหลง
เรา ต้องพยายามหาอุบายมาเตือนตนอยู่เสมอ ด้วยความเพียรความหมั่น ให้รักษา กาย วาจา ใจ ของเราให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ในสิกขาวินัย นำความผิดความชั่ว ออกจากกาย จากวาจา จากใจอาศัย ความเพียรเป็นไปติดต่อ จึงจะชนะความเกียจคร้านได้ ความมัวเมา ความประมาทอันใดมีก็ให้ละเสีย ให้วางเสีย ทำจิตใจของเราให้ตั้งอยู่ในธรรมโม พิจารณากลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ ต้องอาศัยความเพียรความหมั่นความขยัน ไม่เช่นนั้นจิตมันจะตกไปสู่ความเกียจคร้าน
เรา ต้องตักเตือนข่มขู่ ชักจูงแนะนำจิตของเราด้วยอุบายแยบคาย ถ้าจิตใจมันเกียจคร้าน เราต้องหาอุบายมาตักเตือน ชักจูงแนะนำ ให้มีความอาจหาญ ร่าเริง ให้เกิดความอุตสาหะขยันหมั่นเพียร ไม่ปล่อยให้จิตนิ่งเฉยเกียจคร้าน
เรา ต้องละความเกียจคร้าน ความไม่ดีของจิตด้วยการอบรมภาวนาอย่างนี้ ถ้าเราตักเตือนชี้นำด้วยอุบายอันชอบ ในที่สุดจิตก็จะฟังเหตุผล เกิดความมุมานะพยายามในความเพียร เราต้องข่มขู่ตักเตือนบ่อยๆ ในสมัยที่จิตนิ่งเฉยต่อความเพียร
ถ้า เราคอยประคับประคองจิต ด้วยอุบายข่มขู่ตักเตือน ด้วยอุบายแยบคาย จิตย่อมจำนนต่อเหตุผล ระวังรักษาสติไว้อย่าให้หลงลืม ฝึกหัดให้เกิดความรู้ความฉลาดเกิดขึ้นในจิตในใจของตน
จิต ของเรา ถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะให้เรานอนท่าเดียว ถ้ามันเกิดอย่างนี้ขึ้นมา เราต้องหาอุบายมาข่มขู่ตักเตือน อุบายใดที่ยกขึ้นมาชี้แจงแล้วจิตยอมเชื่อฟังนั่นแหละคืออุบายที่ควรแก่จิตใน ลักษณะนั้น และในขณะนั้นๆ ถ้าเราไม่ข่มขู่ชี้โทษโดยอุบายที่ชอบ ใครเขาจะมาตักเตือนเรา บางครั้งจิตถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะวางเฉยในอารมณ์ทั้งหมด ในลักษณะเช่นนี้แหละ เราต้องหาอุบายมาทำให้จิตตื่นให้ได้ เช่นไหว้พระสวดมนต์ หรือยกธรรมบทใดบทหนึ่งขึ้นมาพิจารณา
ให้ ตั้งอยู่ในความหมั่นความเพียร ในคุณงามความดีของตน พยายามเพ่งดูในจิตในใจของเรานี้แหละ ถ้าไม่อาศัยความขยันหมั่นเพียร ไม่ได้ จิตเรานี้มันมักจะไหลไปสู่อารมณ์ต่างๆ เป็นอดีตอนาคตไป เราต้องหาอุบายมาชี้แจงให้ตั้งอยู่ในปัจจุบันธรรม
ถ้า เราไม่หมั่นหาอุบายมาอบรมจิตแล้ว ส่วนมากจิตมักจะเกิดความเฉื่อยชา วางเฉย ดังนั้น อุบายจึงเป็นของสำคัญ ยกขึ้นสู่การพิจารณาชี้แจง ให้จิตอาจหาญ ร่าเริง เห็นแจ้งในจิตในใจของเรา ถ้าจิตยิ่งเกิดเกียจคร้านเท่าไรเราก็ต้องเพิ่มความพยายามตักเตือน โดยอุบายให้มากขึ้นให้เท่าเทียมกัน จนเกิดความขยันขันแข็ง เบิกบานผ่องใส
ให้ตั้งอกตั้งใจตั้งสัจจะ ตรงต่อคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เกิดความอุตสาหะวิรยะ ความพากความเพียร ในภาวนาในคุณความดี
ให้ตั้งอยู่ในสิกขาวินัย ในความหมั่นความเพียร
ให้ ตั้งความสัจจ์ความเพียรไว้ อย่าเป็นคนเกียจคร้าน พระพุทธเจ้าสั่งสอนเราให้ตั้งอยู่ในมรรคในผล ให้พยายามรักษาจิตรักษาใจของเรา อาศัยความองอาจกล้าหาญ ในความพากความเพียรของเรา อย่าอ่อนแอท้อแท้ เราต้องสู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าองอาจกล้าหาญจึงจะผ่านอุปสรรคไปได้



วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561

เปิดประวัติพระเกจิดังแห่งยุค "หลวงปู่แหวน" หลวงปู่แหวน ตอนที่ 2

การ ต่อสู้กามกิเลส เป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กามกิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทาง ความพอใจ ก็คือกิเลส ความไม่พอใจ ก็คือกามกิเลส กามกิเลสนี้ อุปมาเหมือนแม่น้ำ ธารน้ำน้อยใหญ่ ไม่มีประมาณ ไหลลงสู่ทะเล ไม่มีที่เต็ม ฉันใดก็ดี กามตัณหาที่ไม่พอดี ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นแหล่งก่อทุกข์ ก่อความเดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งหมดอยู่ที่ใจ สุขก็อยู่ที่ใจ ทุกข์ก็อยู่ที่ใจ ใจนี่แหละคือตัวเหตุ ทำความพอใจให้
อยู่ที่ใจนี่
กาม ตัณหา เปรียบเหมือนแม่น้ำ ไหลไปสู่ทะเล ไม่รู้จักเต็มสักที อันนี้ฉันใด ความอยากของตัณหามันไม่พอ ต้องทำความพอจึงจะดี เราจะต้องทำใจให้ผ่องใส ตั้งอยู่ในศีล ตั้งอยู่ในทาน ตั้งอยู่ในธรรม ตั้งอยู่ในสมาธิก็ดี ทุกอย่างเราทำความพอดี ความพอใจก็นำออกเสีย ความไม่พอใจก็นำออกเสีย เวลานี้เราจะพักจิต ทำกายของเรา ทำใจของเราให้รู้แจ้ง ในกายในใจของเรานี้ รู้ความเป็นมา วางให้หมด วางอารมณ์ วางอดีต อนาคตทั้งปวงที่ใจนี่แหละ

 ญาปู่คูอาจารย์มั่น ย้ำ จริง ๆ ผู้เฒ่า จะไปเอาที่ไหนจะออกจากกายจากใจไปที่ไหน เอาขนาดนั้นมันก็ยังไม่ค่อยจะเอาหนาจิตนี่...ความหลงไม่ใช่น้อยหนา จำจริง ๆ เอาอยู่อย่างนั้น เอาเข้า ๆ มันมีหลายตัวหนา กิเลส กิเลสความพอใจ ความไม่พอใจ ทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหละ ทั้ง ๒ หู ๒ ตา ๒ แขน ๒ ขา ลิ้น กาย ของดีมันอยู่นี่แหละ
ผู้ ปฏิบัติต้องน้อมเข้าหาสมมติให้เกิดเป็นวิมุตติ พิจารณาให้รู้แจ้งสมมติให้เกิดวิมุตติของเก่านั่นแหละ นักปฏิบัติของเราต้องเอาให้หนักกว่าธรรมดา ทำใจของตนให้แน่วแน่ มันจะไปสงสัยที่ไหน สงสัยมันก็สงสัยอันนี้แหละ ของเก่านี่แหละ เอาเข้า ๆ กิเลสมันปรุงขึ้น
โอ...ความ พอใจไม่พอใจมันอยู่นี่แหละ มันเกิดขึ้นนี่แหละ มันเกิดมันดับอยู่นี่แหละ ไม่รู้เท่ามัน ถ้ารู้เท่ามันก็ดับไป มันเกิดขึ้นมาแล้ว เกิดดีเกิดชั่ว เกิดผิดเกิดถูก มันก็ดับไป ถ้ารู้เท่าทันมัน ตา หู จมูก ลิ้น กาย แขน ขา มันก็อยู่นี่แหละ มันจะไปไหน ปัจจุบันจะมีอยู่กี่ตนนักปฏิบัติ ความหลง ความโลภ มันก็เกิดอยู่นี่แหละ ราคะ โมหะ มันก็เกิดอยู่นี่แหละ ความโกรธ ความหลง ความโลภ มันก็เกิดอยู่นี่ ถ้าจี้มันอยู่อย่างนี้ มันก็ค่อยได้กำลัง ของเก่านั่นแหละ
คิด ถึงคูบาญาปู่มั่นท่านว่า มันอยู่นี่ จะไปหาที่ไหน จะไปหอบไปหาบเอาที่ไหน มันอยู่นี่ อยู่ในตัวเรานี่ ร้องใส่อย่างนี้แล้ว ก็หัวหนาผู้เฒ่า แต่ก่อนผู้เฒ่าปรารถนาพุทธภูมิ ผู้เฒ่าตัดออกหมด ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน ในภายใน รู้ภายนอกภายในหมดแล้ว มันก็หยุด มันก็สบาย
 อดีต ก็เป็นทำเมา อนาคตก็เป็นทำเมา จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้อยู่ในปัจจุบัน ละอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเป็นพุทโธ เป็นธัมโม ปัจจุบันก็พอแล้ว อดีต และอนาคตไม่ต้องคำนึงถึง เกิด แก่ เจ็บ ตาย วัน คืน เดือน ปี สิ้นไป หมดไป อายุเราก็หมดไป สิ้นไป หมั่นบำเพ็ญจิต บำเพ็ญทาน รักษาศีล ภาวนาต่อไป
เกร็ดประวัติของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ
หลวง ปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง หรือที่รู้จักกันในนาม "พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม" มีนามเดิมว่า "ญาณ" โยมบิดาชื่อ นายใส โยมมารดาชื่อ นางแก้ว อาชีพทำนาและตีเหล็ก เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2430 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านหนองบอน หมู่ 2 ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีพี่น้อง 2 คน ท่านเป็นคนที่ 2
ท่านออก บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุได้ 13 ปี โดยมีจิตมุ่งมั่นจะอยู่ในสมณเพศ ตามแนวความคิดของมารดาเมื่อครั้งยังมีชีวิต เมื่อออกบรรพชาเป็นสามเณรนั้นได้บวชในฝ่ายมหานิกาย โดยมีพระอาจารย์คำมา เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "แหวน" สามเณรแหวนสนใจปฏิบัติธรรมและเรียนรู้ในตำราต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง แม้ด้วยวัยเพียง 13 ปี ท่านก็สามารถอ่านตำราในใบลานได้ทั้งภาษาขอม และภาษาล้านนาจนแตกฉาน ในด้านความประพฤติตนของสามเณรแหวนนี้เป็นที่น่าเลื่อมใสและก่อศรัทธาแก่ผู้ พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านขยันเจริญสมาธิ ฉันอาหารเพียงมื้อเดียว และไม่เสพเนื้อสัตว์ บุคลิกลักษณะสุขุม พูดน้อย ดูเคร่งขรึมสมกับการครองเพศสมณะ

อาจารย์อ้วน ผู้มีศักดิ์เป็นอาของสามเณรแหวน ได้พิจารณาส่งเสริมความตั้งใจศึกษาของหลานเป็นอย่างดี ได้นำไปฝากเรียนธรรมและวิชาการอื่นๆ ที่สำนักสงฆ์วัดนาสัก อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และได้ไปเรียนต่อ ณ สำนักสงฆ์วัดสร้างถ่อ อำเภอหัวสะพาน จังหวัดอุบลราชธานี ณ วัดนี้ ได้มีพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ทางภาษาบาลี ภาษาไทย ทำให้ได้เข้าใจและรู้แจ้งในธรรมะขึ้นอีก ความใฝ่รู้ของท่านทำให้รู้และเริ่มเชี่ยวชาญในทางไสยศาสตร์ประกอบไปด้วย
เมื่อ อายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดสร้างถ่อนอก (ห่างจากวัดสร้างถ่อเล็กน้อย) บวชในฝ่ายมหานิกายเช่นเดิม ได้ศึกษาธรรมวินัย ธรรมปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นผู้รอบรู้ทั้งปริยัติธรรมตลอดจนถึงวิชาอาคมอย่างกว้างขวาง จากความที่ท่านเป็นผู้ชอบแสวงและใฝ่หาความรู้นั้นเอง จึงเกิดความคิดที่จะออกเสาะหาอาจารย์ผู้ที่จะประสิทธิ์ความรู้ให้แก่ท่านต่อ ไปอีก จึงได้ออกเดินทางธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ขณะที่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เริ่มออกธุดงค์เพื่อแสวงหาโมขธรรมนั้นอายุได้ประมาณ 30 ปี บ่อยครั้งจากการธุดงค์ได้พบสหายธรรมจากที่ต่างๆ บ้างก็เป็นพระสงฆ์ในแนวมหานิกายด้วยกัน บ้างก็เป็นสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย แต่ก็มีความผูกพันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตลอดกระทั่งมีการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดต่างๆ แก่กันเสมอ ผู้ที่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ สนิทสนมด้วยเป็นพิเศษ และได้คบหากันต่อมาก็คือ หลวงปู่ตื้อ อาจลธรรมโม ซึ่งเป็นผู้ชักนำให้ไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งกำลังเป็นผู้ที่ถูกกล่าวถึงว่าปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และกำลังออกสั่งสอนธรรมปฏิบัติอยู่ทางภาคอีสานขณะนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้พบและฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่น บังเกิดความซาบซึ้ง และทราบว่าเป็นทางแห่งการแสวงหาธรรมตามที่ประสงค์

หลังจากหลวงปู่ แหวนได้พบพระอาจารย์มั่น และได้เดินทางธุดงค์ไปกับหลวงปู่ตื้อ โดยเดินทางไปจากภาคอีสานไปสู่ประเทศลาว เขมร เวียดนาม พม่า จนกระทั่งทะลุผ่านกลับสู่ประเทศไทย ทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน แล้วกลับมาสู่อีสานแล้ว ต่อมาอีกไม่นาน (ประมาณอายุ 33 ปี) หลวงปู่แหวนได้ติดตามท่านเจ้าคุณพระอุมาลีคุณปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ไปจำพรรษา ณ วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนี้หลวงปู่แหวนได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อีกครั้ง พร้อมทั้งได้ขอรับเป็นพระสงฆ์ในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุมาลีคุณปมาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์

นับแต่นั้น หลวงปู่แหวนก็ได้ออกธุดงคกรรมฐานหาความวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพรแถบภาคเหนือ ตลอดมา จวบจนได้พบวัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ และได้ทำการพัฒนาจนเจริญรุ่งเรือง จนเป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไปถึงทุกวันนี้

ปี พ.ศ.2489 หลวงปู่แหวนจำพรรษาที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง ในพรรษานั้นท่านอาพาธเป็นแผลที่ขาอักเสบต้องผ่าตัด โดยมีพระอาจารย์หนู สุจิตโต ซึ่งเดินทางมาจากดอยแม่ปั๋งพยาบาลอยู่ใกล้ๆ เมื่อครบ 7 วัน ต้องกลับไปดอยแม่ปั๋ง เพราะอยู่ระหว่างพรรษา จนกระทั่งเดือนเมษายนในปีต่อมา อาการอาพาธจึงดีขึ้น แต่ก็ยังไม่หายสนิทยังเดินไปไหนไกลๆ ไม่ได้

นับ แต่นั้นมาอาจารย์หนูได้พยาบาลอยู่ใกล้ๆ เพื่อดูแลหลวงปู่แหวน ต่อมาท่านอาจารย์หนูได้ดำริว่า ปัจจุบันหลวงปู่มีอายุมากแล้ว ไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่ด้วยเพื่อเป็นอุปัฏฐาก ถ้านิมนต์มาอยู่ที่ดอยแม่ปั๋งก็จะได้ถวายการดูแลได้โดยง่ายไม่ต้องไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ แต่ก็ต้องเป็นเพียงความคิดของพระอาจารย์หนูเท่านั้น เพราะในเวลาดังกล่าว ดอยแม่ปั๋งยังไม่มีอะไรพร้อมแม้แต่กุฏิก็ยังไม่มี

ปี พ.ศ.2505 ขณะที่หลวงปู่แหวนมีอายุ 75 ปี คืนวันหนึ่งท่านอาจารย์หนูนั่งภาวนาอยู่เกิดเป็นเสียงหลวงปู่แหวนดังขึ้นมา ที่หูว่า จะมาอยู่ด้วยคนนะ หลังจากวันที่ได้ยินเสียงหลวงปู่แหวนอีกสามวัน พระอาจารย์หนูได้ถูกนิมนต์ไปที่วัดบ้านปงสถานที่ที่หลวงปู่อยู่ และถือโอกาสนิมนต์หลวงปู่แหวนมาที่วัดดอยแม่ปั๋งด้วย

เมื่อหลวงปู่ แหวนได้มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งแล้ว ครั้งแรกท่านพักอยู่ที่กุฏิหลังเล็กๆ หลังหนึ่ง การมาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งนี้ ท่านได้มีข้อตกลงกับพระอาจารย์หนูว่า หน้าที่ต่างๆ และกิจทุกอย่างที่มีขึ้นในวัด ให้ตกเป็นภาระของพระอาจารย์หนูแต่เพียงผู้เดียว

ส่วนท่านจะอยู่ใน ฐานะพระผู้เฒ่าผู้ปฏิบัติธรรมจะไม่มีภาระใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนั้น หลวงปู่แหวน จะไม่รับนิมนต์โดยเด็ดขาด แม้ที่สุดถึงจะเกิดอาพาธหนักเพียงใดก็ตาม ท่านไม่ยอมนอนรักษาที่โรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ ตามอริยโคตรอริยวงศ์ ซึ่งบูรพาจารย์ท่านเคยปฏิบัติมาแล้วในกาลก่อน

นับตั้งแต่หลวงปู่แหวนได้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นเลย เพราะอากาศทางภาคเหนือสัปปายะ สำหรับท่าน

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋งได้มรณภาพลงที่วัดดอยแม่ปั๋งแห่งนี้ เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2528 สิริอายุ 98 ปี

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561

ปฏิหาริย์ ชีวประวัติ คำสอน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ตอนที่ 1

... ก่อนอื่นขอกล่าวถึง พระอาจารย์สิงห์ ขนตยาคโม สักเล็กน้อย ... พระอาจารย์สิงห์ เป็นชาวอุบลฯโดยกำเนิด เกิดที่บ้านหนองขอน หัวตะพาน
... ท่านเป็นพระอาจารย์องค์แรกที่ได้ปวารณาตัวเข้าเป็นสิษย์พระอาจารย์มั่น เป็นศิษย์ก้นกุฏิอยู่ถึง 12 ปี เป็นศิษย์เอกสูงสุดเปรียบได้กับแขนซ้ายและขวาของพระอาจารย์มั่นในการเผยแพร่ พระสัทธรรมให้แพร่หลายกว้างขวางในสมัยนั้น ... พระอาจารย์มั่นท่านสมถะชอบธุดงควัตรสัญจรร่อนเร่ไปตามป่าตามเขาแต่โดดเดี่ยว ไม่ชอบยุ่งเกี่ยวกับพระและฆราวาสชาวบ้านเท่าไหร่นัก​
                                                         

                                                                    "ช้างเผือกในป่า"​
... พระอาจารย์สิงห์ ขนุตยาคโม กำลังจะสรงน้ำในตอนเย็นที่วัดสร้างถ่อ อำเภอเกษมสีมา จังหวัดอุบลราชธานี ... ก็เหลือบเห็นพระภิษุรูปหนึ่งกำลังเดินมากับสามเณรน้อยรูปหนึ่ง พระอาจารย์สิงห์จึงหยุดดูด้วยความสนใจ ... เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในตอนเย็นวันนั้น ในปีพุทธศักราช 2445 ที่ล่วงมาแล้ว
... พระอาจารย์สิงห์ได้เห็น " นิมิต " ปรากฏที่ร่างของสามาณรน้อยรูปนั้น เป็นแสงโอภาสออกจากกายคล้ายรัศมีของผู้มีบุญญาอภินิหาร ก็รู้สึกประหลาดใจก็เอามือขยี้ตาตนเองเข้าใจไปว่าตาฝ่าดไปอันเกิดจากแสงแดด หลอนนัยตา เมื่อขยี้ตาแล้วก็ยังมองเห็นกระแสรัศมีนั้นปรากฏอยู่ที่ร่างสามเณรน้อยที่ กำลังเดินฝ่าเปลวแดดเข้ามาในวัด ... ประมาณอึดใจใหญ่ๆ รัศมีนั้นก็พลันหายไป ... พระอาจารย์สิงห์ก็ล่วงรู้ได้ด้วยอำนาจญาณทันทีว่า สามเณรน้อยผู้นี้เป็นผู้มีบุญญาบารมีมาเกิด .. ท่านจึงเปลี่ยนใจไม่สรงน้ำรีบคว้าจีวรมานุ่งเรียบร้อยแล้วนั่งรออยู่บนกุฏิ ... พระภิกษุและสามเณรน้อยรูปนั้น ขึ้นกุฏิมากราบนมัสการ พระอาจารย์สิงห์ แล้วแนะนำตัวเองว่าชื่อพระภิษุกอ้วนมาจากวัดโพธิชัย บ้านนาโป่ง ริมฝั่งแม่น้ำฮวย เมืองเลย พระภิษุกอ้วนมีศักดิ์เป็นอาของสามเณรน้อยที่พามาด้วย

                   "พระภิกษุอ้วน เป็นจ้าวอาวาสวัดโพธิชัย สมัยหลวงปู่แหวนยังเป็นสามเณร​"
... สามเณรน้อยผู้นี้มีชื่อว่า " ยาน " แต่เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้วได้เปลี่ยนชื่อให้เป็นคนใหม่ชื่อ " แหวน " ... " อ้อ..ชื่อแหวนเหร๋อ " พระอาจารย์สิงห์อุทานอย่างชื่นชมยินดี สามเษรน้อยนามว่าแหวน ก้มกราบอีกครั้ง พนมมือตอบแบบอายๆ ว่า เป็นชื่อที่ย่าตั้งให้ ... " ชื่อแหวนนี่ดี แหวนเป็นเครื่องประดับกายของมนุษย์ ย่อมที่จะประดับในนิ้วมือ คนไม่มีมือ คือ คนมือด้วน มือจึงเป็นของสำคัญพอๆ กับสติปัญญาของมนุษย์
... ต่อมาพระอาจารย์สิงห์ได้สักถามพระภิกษุอ้วนถึงประวัติความเป็นมา ... พระภิกษุอ้วนเล่าว่า สามเณรแหวนซึ่งเป็นหลานรักได้บวชเรียนมาสองพรรษาแล้วที่วัดโพธิชัย บ้านนาโป่ง จังหวัดเลย เวลานี้อายุได้ 14 ปี บิดาชื่อนายสาย มารดาชื่อนางแก้ว มีพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกันสองคน คือ นางเบ็ง พี่สาว .. บิดาไปมีภรรยาใหม่มีน้องต่างมารดาอีกคนชื่อ โสภา ( ต่อมาโสภาได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้วย้ายไปอยู่วัดอื่นไม่รู้ข่าวคราวและสาปสูญ ไปจนกระทั่งทุกวันนี้ ) ... อาชีพของบิดา คือ ทำนา สืบเชื้อสายมาจากชาวหลวงพระบาง อาชีพอีกอย่างหนึ่งของนายสาย คือ ช่างตีเหล็กมีความชำนาณในการหลอมเหล็กดีมากเป็นที่เลื่องลือ ... ที่พาสามเณรแหวนมานี่เพื่อนำตัวมาฝากกับพระอาจารย์สิงห์เพื่อขอศึกาบาลี นักธรรม
... ด้วยว่าสำนักแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดัง มีพระเณรจากหัวเมืองต่างๆในอีสานเดินทางมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์มากมาย ... พระอาจารย์สิงห์ได้ทราบความประสงค์แล้วก็มีความยินดี มองพินิจพิจารณาสามเณรน้อยรูปร่างผิวพรรณเกลี้ยงเกลาขาวสะอาด นัยน์ตาสุกใสบริสุทธิ์ท่าทางสมถะสำรวมมีสง่าราศี อย่างประหลาด
" นี่คือ ช้างเผือกแก้วเกิดในป่าแน่แล้ว " ... จตากนั้นจึงพาไปที่กุฏิเจ้าอาวาส คือ พระอาจารย์หลี นมัสการแนะนำตัวให้รู้จักไว้ตามธรรมเนียม ... พระอาจารย์หลีมีความยินดี อนุยาติให้พระอาจารย์สิงห์รับสามเณรแหวนไว้ ขณะนั้นมีสามเณรที่เข้ามาศึกาเป็นจำนวน 70 องคื โดยมีพระอาจารย์สิงหืเป็นพระอาจารย์ใหญ่ ... แต่ตอนนั้นพระอาจารย์สิงห์ยังไม่ได้เข้ายัติปวารณาตัวเข้าเป็นศิย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แต่อย่างใด​
เครดิต เวป หลวงปู่แหวน สุจิณโณ...ยอดอริยเจ้า จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

หลวงปู่แหวน แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่

หลวงปู่แหวน แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
หลวงปู่แหวน คือหนึ่งในพระอรหันต์แห่งยุคเลยก็ว่าได้ ด้วยจริยวัตรที่ปฎิบัติอันน่าเลื่อมใส ในสายปฎิบัติธรรมตามรอยหลวงปู่มั่น เเน้นการปฎิบัติแห่ง ธรรมยุติกนิกาย
ขอเล่าเรื่องนิกาย นิดหน่อยนะครับ
นิกายคือ 1.เถรวาท 2.มหายาน 3.วัชรยาน ไม่ใช่ มหานิกาย และ ธรรมยุติกนิกาย มหายาน และธรรมยุติ คือ กลุ่มที่แบ่งออกมาจาก นิกาย เถรวาท 

"มหานิกาย" ก็คือพระที่ปฏิบัติธรรม จะเคร่งก็ดีไม่เคร่งก็ดี อยู่ในพื้นที่ของสงฆ์นั้นก็คือวัดนั้นเองครับ ก็คือ พระที่อยู่ในวัดนั้นเอง (ฉันท์ข้าว 2 มื้อ เช้า-เพล +เย็นเป็นบางรูปบางองค์ และบางรูปที่ป่วยจำเป็นจะต้องฉันท์)

"ธรรมยุติกนิกาย หรือ ธรรมยุติ" คือพระที่จาริกไปตามป่าเขา ใช้ป่าเขาเป็นที่ปฏิบัติธรรม แสวงหาความเงียบสงบในการปฏิบัติธรรม ง่ายๆก็คือ พระสายธุดงกรรมฐาน
 (ฉันท์เช้ามื้อเดียว มีก็ฉันท์ไม่มีก็ไม่ฉันท์ ปล.ในสมัยนั้น ป่วยไม่ป่วยแล้วแต่)

"ส่วนสีของไตรจีวรสีต่างกันเพราะ" พระฝ่ายมหานิกายใกล้ความเจิรญมากกว่าทำให้ไม่ต้องย้อมสีของจีวรเองมีญาติโยมมาถวายให้ตลอด แต่พระสายธรรมยุตินั้นต้องจาริกไปตามป่าเขาต้องใช้ผ้าไตรจีวรชุดเดียวเท่านั้นเลยต้องย้อมสีเป็นสี "แก่นขนุน และแก่นขนุนเข้ม" หรือ "สีกรัก" สีเหมือนที่พระพุธรเจ้าห่ม นั้นเอง"

หลวงปู่แหวน อยู่ในแนวทางปฎิบัติ ของ ธรรมยุติกนิกาย ตามแนวทางของหลวงปู่มั่น เน้นการเจริญศีล ภาวนา กรรมฐาน จาริกกตามป่าเขา เพื่อแสวงหาซึ่งความหลุดพ้น เป็นแนวทางที่น่าเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง 
ทุกนิกายต่างเพียงการปฎิบัติ แต่สุดท้ายแล้วแก่นแท้คือ การสืบทอดซึ่งพระพุทธศาสนา ตามพระบรมศาสดา นั่นคือพระพุทธเจ้า. 

หลวงปู่แหวน ประวัติ

หลวงปู่แหวน ประวัติ

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เกิดในตระกูลของช่างตีเหล็ก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2430 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านนาโป่ง ตำบลหนองใน(ปัจจุบันเป็นตำบลนาโป่ง) อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยเป็นบุตรของนายใสกับนางแก้ว รามศิริ โดยมีน้องสาวร่วมบิดา- มารดาอีกหนึ่งคนคือ นางเบ็ง ราชอักษร และบิดามารดาของท่านได้ ตั้งชื่อว่า ญาณ ซึ่งแปลว่า ปรีชา กำหนดรู้

พอท่านมีอายุ ได้ประมาณ 5 ขวบเศษ โยมมารดาของท่านก็ล้มป่วย แม้จะได้รับการดูแลเยียวยารักษาเป็นอย่างดีจากสามี แต่อาการของท่านก็มีแต่ทรงกับทรุด ในที่สุดเมื่อท่านรู้ตัวว่า คงจะไม่รอดชีวิตไปได้แน่แล้วท่านจึงได้เรียกหลวงปู่แหวน เข้าไปใกล้ แล้วกล่าวความฝากฝังเอาไว้ว่า ลูกเอํย...แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ล้วน กี่โกฎก็ตามแม่ไม่ยินดี แม่จะยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ เมื่อลูกบวชแล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมา มีลูกมีเมียนะ... หลวงปู่แหวนพยักหน้า รับคำเท่านั้น ดวงวิญญาณของท่านก็ออกจากร่างไป มาอีกไม่นาน ดึกสงัดของค่ำคืนวันหนึ่งขณะที่คุณยายของหลวงปู่แหวนกำลังนอนหลับสนิทก็เกิดฝันประหลาด อันเป็นมงคลนิมิตหมายที่ดีงาม ท่านจึงได้นำเอาความฝันมาเล่าสู่ลูกหลานและหลวงปู่แหวนฟัง ในวันรุ่งขึ้นว่า เมื่อคืนนี้ ยายนอนหลับและได้ฝันประหลาดมาก ฝันว่าเจ้าไปนอนอยู่ในดงขมิ้น จนกระทั่งเนื้อตัวของเจ้าเหลือง อร่ามไปหมด ดูแล้วน่ารักน่าเอ็นดูยิ่งนัก ยายเห็นว่า เจ้านี้จะมีอุปนิสัยวาสนาในทางบวช ฉะนั้นยายขอให้เจ้าบวชตลอดชีวิต และขอให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีลูกมีเมียเจ้าจะทำได้ไหม
การออกจาริกแสวงบุญ
ปี พ.ศ. 2464 ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาธรรมกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
ปี พ.ศ. 2478 ได้เข้าพบ ท่านเจ้า คุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนจากมหานิกายเป็น ธรรมยุติ และได้รับฉายาว่า สุจิณโณ จากนั้นได้ออกจาริกแสวงบุญต่อ ขณะที่ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์มั่นฯ ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ จังหวัดอุบลราชธานี มีศิษย์พระอาจารย์มั่นฯ ที่มีอัธยาศัย ที่ตรงกัน 2 ท่านคือ พระขาว อนาลโย และ พระตื้อ อจลธัมโม เช่นเดียวกับคราวที่ จากท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ก็ได้ พระขาว จาริกแสวงธรรมเป็นเพื่อนจนถึงเมืองหลวงพระบาง
ปีพ.ศ. 2489 หลวงปู่แหวนจำพรรษาที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง ในพรรษานั้นท่านอาพาธเป็นแผลที่ขาอักเสบต้องผ่าตัด โดยมีพระหนู สุจิตโต ซึ่งเดินทางมาจากดอยแม่ปั๋งพยายามอยู่ใกล้ๆ เมื่อครบ 7 วัน ต้องกลับไปดอยแม่ปั๋ง เพราะอยู่ระหว่างพรรษา จนกระทั่งเดือนเมษายนในปีต่อมา อาการอาพาธจึงดีขึ้นแต่ก็ยังไม่หายสนิทยังเดินไปไหนไกลๆ ไม่ได้ นับแต่นั้นมาพระหนูได้พยายามอยู่ใกล้ๆ เพื่อดูแลหลวงปู่แหวน ต่อมาพระหนูได้ดำริว่า ปัจจุบันหลวงปู่แหวนมีอายุมากแล้ว ไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่ด้วย เพื่อเป็นอุปัฏฐาก ถ้านิมนต์มาอยู่ที่ดอยแม่ปั๋งก็จะได้ถวายการดูแลได้โดยง่ายไม่ต้องไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ แต่ก็ต้องเป็นเพียงความคิดของพระหนูเท่านั้น เพราะในเวลาดังกล่าว ดอยแม่ปั๋งยังไม่มีอะไรพร้อมแม้แต่กุฏิก็ยังไม่มี
ปีพ.ศ. 2505 ขณะที่หลวงปู่แหวนมีอายุ 75 ปี คืนวันหนึ่งพระหนูนั่งภาวนาอยู่เกิดเป็นเสียงหลวงปู่แหวนดังขึ้นมาที่หูว่า จะมาอยู่ด้วยคนนะ หลังจากวันที่ได้ยินเสียงหลวงปู่แหวนอีกสามวัน พระอาจารย์หนูได้ถูกนิมนต์ไปที่วัดบ้านปงสถานที่ที่หลวงปู่แหวนอยู่ และถือโอกาสนิมนต์หลวงปู่แหวนมาที่วัดดอยแม่ปั๋งด้วย
เมื่อหลวงปู่แหวนได้มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งแล้ว ครั้งแรกท่านพักอยู่ที่กุฏิหลังเล็กๆ หลังหนึ่ง การมาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งนี้ ท่านได้มีข้อตกลงกับพระอาจารย์หนูว่า หน้าที่ต่างๆ และกิจทุกอย่างที่มีขึ้นในวัด ให้ตกเป็นภาระของพระอาจารย์หนูแต่เพียงผู้เดียว ส่วนท่านจะอยู่ในฐานะพระผู้เฒ่าผู้ปฏิบัติธรรมจะไม่มีภาระใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนั้นหลวงปู่แหวนจะไม่รับนิมนต์โดยเด็ดขาด แม้ที่สุดถึงจะเกิดอาพาธหนักเพียงใดก็ตาม ท่านไม่ยอมนอนรักษาที่โรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ ตามอริยโคตรอริยวงศ์ ซึ่งบูรพาจารย์ท่านเคยปฏิบัติมาแล้วในกาลก่อน

นับตั้งแต่หลวงปู่แหวนได้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นเลย เพราะอากาศทางภาคเหนือสัปปายะสำหรับท่าน หลวงปู่แหวนได้มรณภาพลงที่วัดดอยแม่ปั๋งแห่งนี้ เมื่อวันที่ 2 ก.ค.2528 สิริอายุ 98 ปี
ขอบคุณข้อมูลคัดลอกมาจาก https://th.wikipedia.org

หลวง ปู่ แหวน ประวัติย่อ

หลวง ปู่ แหวน ประวัติย่อ
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
(สุจิณโณ)
หลวงปู่แหวน
เกิด 16 มกราคม พ.ศ. 2430
มรณภาพ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2528
อายุ 98
บรรพชา พ.ศ. 2439
อุปสมบท พ.ศ. 2450
พรรษา 78
วัด วัดดอยแม่ปั๋ง
ท้องที่ จังหวัดเชียงใหม่
สังกัด ธรรมยุติกนิกาย