วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อัตชีวะประวัติ คำสอน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ตอนที่ 2

                                                คำสอน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ตอนที่ 2                                         
                                                             ... จัวน้อยกรรมฐาน ...​

... ปฏิปทาจริยาวัตรสามเณรแหวนจัดเป็นผู้ถือเคร่งในพระธรรมวินัย พูดน้อยใช้ความคิดเงียบขรึมรักสงบในที่สงัดวิเวก ไม่ชอบอยู่รวมกับหมู่คณะมักจะหาโอกาสแยกตนออกไปนั่งในที่สงัดนอกวัดเสมอ ... จนพระอาจารย์สิงห์ออกปากกับเจ้าอาวาสหลีว่า สามเณรน้อยผู้นี้กล้ากาญมากมีจิตใจองอาจไม่กลัวอะไรเลย เป็นมหานิกายที่เคร่งเหมือนธรรมยุติ ... อาหารก็ฉันมื้อเดียว ชอบฉันข้าวกับเกลือ พริก และผัก ไม่ยอมฉันอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และตื่นตี 3-4 เป็นประจำ ถ้าคืนไหนไม่ได้ออกไปนั่งสมาธิในป่าช้า ก็จะลงไปเดินจงกรมใกล้กุฏิประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วกลับขึ้นกุฏินั่งสมาธิ
... หลังจากฉันอาหารเช้าวันหนึ่ง พระอาจารย์สิงห์มีเมตตาไตร่ถามสามเณรแหวนว่า ชอบกรรมฐานมากหรือจัวน้อย ( จัว น้อยเป็นคำอีสานหมายถึงสามเณร ) สามเณรแหวนยกมือพนมแล้วตอบว่า กระผมชอบความเงียบสงัด ชอบพิจารณาต้นไม้ใบหญ้าแล้วคิดเปรียบเทียบกับชีวิตและสัตว์ แล้วเห็นว่าธรรมชาติต้นไม่ใบหญ้านี้คล้ายกับชีวิตของคนเรา มีกาดเกิด มีดับ หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้เลย ... พระอาจาร์สิงห์ได้ฟังแล้วก็อัศจรรย์ อุทานในใจว่า เณรน้อยผู้นี้มีอารมณ์วิปัสสนาทั้งๆ ที่เรายังไม่ได้สอนเลย เป็นปัญญาเห็นแจ้งซึ่งสภาวะธรรมชาติโดยธรรมชาติ คือ เห็นชาติ ชรา มรณะ ผู้เห็นแจ้งดังนี้ที่เรียกว่าเริ่มเห็นมรรค ผล นิพพาน ได้รำไร​

                                                                        .. 60 กว่าปี ...​

... ต่อมาเมื่อสามเณรแหวนอายุครบอุปสมบท พระอาจารย์สิงห์ และพระอาจารย์หลี ( เจ้าอาวาส ) ได้เป็นผู้บวชพระให้ ..... ที่วัดสร้างถ่อ อำเภอเกษมสีมา ( ต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอม่วงสามสิบ ) ประมาณปี 2452 มีสามเณรแว่น ( พระอาจารย์แว่น ) เป็นคู่บวชด้วยในครั้งนั้น ... พระอาจารย์แว่น ต่อมาเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังองค์หนึ่งแห่งอีสานในสายศิษย์หลวง ปู่มั่น
... พระภิกษุแหวน บวชได้ไม่นาน พระภิกษุอ้วนผู้เป็นอาก็ได้เดินทางมารับพระภิกษุแหวนเดินทางกลับไปอยู่ที่ วัดโพธิชัยบ้านนาโป่ง ซึ่งเป็นบ้านเกิดริใฝ่งแม่น้ำฮวย จังหวัดเลย ... แต่เมื่อพระภิกษุแหวนไปถึงไม่ยอมเข้าอยู่ที่วัดเพียงแต่ได้เข้าไปกราบพระ อุปัชฌาย์เจ้าอาวาสที่เคยบรรพชาให้เมื่อครั้งยังเป็นสามเณร คือ หลวงปู่คำมา ขณะนั้นแล้วเลยเข้าไปกราบพระประธานในโบสถ์ ... จากนั้นก็ได้ไปยึดเอาโคนต้นไม้ในป่าช้าใกล้หมู่บ้านเป็นที่พัก
... ตอนนี้พระภิกษุแหวนมีอารมณ์จิตใฝ่กรรมฐานเต็มที่พร้อมแล้วที่จะออกธุดงค์แต่ ลำพังผู้เดียว ทั้งๆที่พระอาจารย์สิงห์ไม่ได้สินกรรมฐานให้แต่อย่างไรจะมีก็แต่เพียงแนะนำ หลักกว้างๆ ให้เท่านั้น พระอาจารย์สิงหืท่านสอนหนักไปในทางปริยัติมากกว่า .... และพระอาจารย์สิงห์มีภาระยุ่งอยู่กับการค้นคว้าตำรับตำราคัมภีร์ธรรมต่างๆ เพื่อเตรียมไว้สอนศิษย์ หาเวลาว่างจะอบรมกรรมฐานไม่ค่อยได้​

                                                                  ... ป่าช้าบ้านเกิด ...​

... พระภิกษุแหวน พักอยู่ที่ป่าช้าบ้านนาโป่งไม่นานก็รู้สึกรำคาญใจ เพราะญาติพี่น้อง และชาวบ้านไปมาหาสู่รบกวนใจจนไม่ค่อยจะมีเวลาทำสมาธิสงบใจได้สะดวกทำให้มี ห่วงพะวักพะวน ... ท่านรำพึงว่า .. อันตัวเรานี้ก็ได้เลือกทางดำเนืนเพศสมณะเจริญรอยตามพระสัมมาสัมพทธเจ้าโดย สมบูรณ์แล้ว ... กระทำตนเป็นอนาคาริก คือ การไม่มีบ้านเรือนอยู่อาศัย ไม่อยู่วัดอาราม อาศัยอยู่ตามโคนต้นไม้ ถึงเวลาแล้วที่จะตัดขาดจากญาติโยมชาวบ้านให้เด็ดขาดเพื่อออกแสวงหาวิมุติสุข ทางหลุดพ้นจากกองทุกข์​
... เมื่อคิดแล้วเช่นนี้ พระภิกษุแหวนก็ออกลาญาติโยมชาวบ้านและหลวงอาอ้วน เพื่อจะออกธุดงค์กรรมฐานไปตามทางของตน แต่ญาติโยมทั้งหลายไม่เห้นดีเห็นงามด้วยเพราะเห็นว่า เป็นพระธุดงค์มีแต่ความยากลำบาก อด ๆ อยากๆ ... แต่พระภิกษุแหวนไม่ยอม ได้ชี้แจงเหตุผลต่างๆ นาๆ จนญาติโยมและชาวบ้านเกิดใจอ่อนยินยอมอนุโมธนาสาธุด้วย
... พระภิกษุแหวนจึงได้เริ่มออกธุดงค์ตั้งแต่บัดนั้น ประมาณปลายปี พ.ศ. 2452 ... เป็นการพลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอนอันเงียบสงบริมฝั่งแม่น้ำฮวย จังหวัดเลย ... และไม่ได้กลับไปอีกเลยเหมือนสูญหายตายจาก ไม่มีใครได้ข่าวคราวตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง 60 กว่าปี ... เพิ่งจะมาได้ข่าวคราวพระภิกษุแหวนกันเอาประมาณปลายปี 2516 เมื่อหนังสือพิมพืนำประวัติ และอภินิหารหลวงปู้แหวนออกมาตีพิมพ์เผยแพร่ว่า เป็นพระอาจารย์สมถวิปัศสนาผู้เฒ่า แห่งสำนักสงฆ์ ร ดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่
... เป็นที่เคารพรักและศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนชาวเหนืออย่างกว้างขวาง ... เอวังก็มีด้วยประกาลฉะนี้
เครดิต เวป หลวงปู่แหวน สุจิณโณ...ยอดอริยเจ้า จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น